Share

ทำความรู้จักแรนซัมแวร์ ‘Medusa’

Last updated: 22 May 2025
127 Views

การโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ที่ชื่อว่า "Medusa" กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นในสหรัฐ

เมื่อเร็วๆ นี้ มีการตรวจพบการโจมตีแรนซัมแวร์ Medusa ไปยังโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญขององค์กรมากกว่า 300 แห่งในอุตสาหกรรมทางการแพทย์ การศึกษา กฎหมาย ประกันภัย เทคโนโลยี และภาคการผลิตใน สหรัฐ

เมื่อช่วงปี 2021 Medusa เปิดตัวครั้งแรกในรูปแบบแรนซัมแวร์แบบปิดที่ดำเนินการและจัดการโดยกลุ่มแฮกเกอร์ แม้ว่าต่อมาจะมีการเปลี่ยนเป็นการดำเนินการแบบ Ransomware-as-a-Service (RaaS) แต่ผู้พัฒนา Medusa ยังคงดูแลการดำเนินการเรื่องที่สำคัญๆ ต่อไปอยู่ โดยเฉพาะการเจรจาเรียกค่าไถ่เหยื่อ

Medusa เริ่มออกปฏิบัติการจริงในปี 2023 จากการปล่อยรายละเอียดเว็บไซต์ที่รั่วไหลเพื่อกดดันให้เหยื่อยอมจ่ายเงินค่าไถ่และใช้ข้อมูลที่ขโมยมาเป็นตัวต่อรอง โดยอาศัยการเข้าถึงเครือข่ายผ่านโบรกเกอร์ IAB (Initial Access Broker) ในตลาดมืด โดยพันธมิตรเหล่านี้จะได้รับเงินตอบแทนตั้งแต่ 100 ดอลลาร์สหรัฐถึง 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมกับข้อเสนอที่เปิดโอกาสให้สามารถทำงานร่วมกับ Medusa

การโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ Medusa กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นในสหรัฐ หลังจากเกิดเหตุการณ์โจมตีโรงเรียนในเมืองใหญ่

อย่าง มินนิอาโปลิส และการปล่อยไฟล์ขโมยมาจาก Toyota Financial Services ให้รั่วไหลบนดาร์กเว็บ เมื่อบริษัท Toyota ตัดสินใจปฏิเสธที่จะจ่ายเงินค่าไถ่ 8 ล้านดอลลาร์และแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงการละเมิดข้อมูลที่เกิดขึ้น         

จากการสำรวจพบว่า การโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ Medusa เพิ่มขึ้น 42% ช่วงปี 2023 ถึง 2024 แต่ที่น่าตกใจคือ การโจมตีเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2025 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายภาคอุตสาหกรรมในกว่า 70 ประเทศรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ด้วยสาเหตุนี้ทำให้เจ้าหน้าที่ทางการของสหรัฐฯ ที่เกี่ยวข้องได้ออกประกาศคำแนะนำเพื่อป้องกันและลดโอกาสผลกระทบจากแรนซัมแวร์ Medusa ดังนี้

ลดช่องโหว่ทางด้านความปลอดภัยที่ตรวจพบ เพื่อให้แน่ใจว่าระบบปฏิบัติการ ซอฟต์แวร์ และเฟิร์มแวร์ได้รับการแก้ไขภายในกรอบเวลาที่เหมาะสม

แบ่งแยกเครือข่าย เพื่อจำกัดการแพร่ระหว่างอุปกรณ์ที่ถูกโจมตีและอุปกรณ์อื่น ๆ ภายในองค์กร และคัดแยก network traffic โดยบล็อกการเข้าถึงจากแหล่งที่มาที่ไม่รู้จักหรือไม่น่าเชื่อถือและการรีโมทเข้าในระบบภายใน

แต่ยังมีเรื่องที่หลายท่านยังคงไม่ทราบคือ กลุ่มมัลแวร์และกลุ่มที่อาชญากรรมทางไซเบอร์หลายกลุ่มก็เรียกตัวเองว่า Medusa ซึ่งรวมถึงบอตเน็ตที่ใช้ Mirai ซึ่งมีความสามารถในการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ และปฏิบัติการมัลแวร์แบบ Malware-as-a-Service (MaaS)

หลายท่านยังมีความสบสันคิดว่า แรนซัมแวร์ Medusa เป็นปฏิบัติการเดียวกันกับแรนซัมแวร์ MedusaLocker ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วเป็นปฏิบัติการที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงก็ตามครับ

สามารถติดตามบทความจาก CEO ผ่านทางบทความ Think Secure โดย คุณนักรบ เนียมนามธรรม (นักรบ มือปราบไวรัส) เป็นประจำทุกสัปดาห์ ได้ทางหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ หรือช่องทาง Online ที่ https://www.bangkokbiznews.com/category/tech/gadget 

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (ฉบับวันที่ 14 เมษายน 2568)
https://www.bangkokbiznews.com/blogs/tech/gadget/1175898    


Related Content
This website uses cookies to enhance your experience and providing the best service from us. Please confirm the acceptance. You can learn more about our use of cookies from our Policy. Privacy Policy and Cookies Policy
Compare product
0/4
Remove all
Compare