share

XDR ปกป้องช่องโหว่เครือข่าย !!??

Last updated: 27 May 2024
336 Views
XDR ปกป้องช่องโหว่เครือข่าย !!??
XDR ปกป้องช่องโหว่เครือข่าย !!??

ช่วงสองทศการสูญเสียการมองเห็นอาจส่งผลให้เกิดช่องโหว่ในระบบรักษาความปลอดภัย

ช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าเครือข่ายขององค์กรต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้น...

บวกกับข้อมูลและแอปพลิเคชันที่มีอยู่ทั่วโลก ครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐานที่ซับซ้อนแบบมัลติคลาวด์ (multi-cloud) การติดตั้งใช้งานเองภายในองค์กร (on-premises) และแบบเดิมที่ผู้ใช้เข้าถึงได้ด้วยมือถือและการรีโมท

ในความเป็นจริงแล้วทีมรักษาความปลอดภัยไม่สามารถมองเห็นภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งหมดและทำให้ระบบตกอยู่ในความเสี่ยง ซึ่งโดยปกติแล้วทีมรักษาความปลอดภัยใช้เครื่องมือรักษาความปลอดภัยเฉลี่ยประมาณ 50-100

หากไม่สามารถมองเห็นทุกกระบวนการในการรับส่งข้อมูลเครือข่ายและกิจกรรมของผู้ใช้ตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่ควบคุมการใช้งานโดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย จะส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพของทีมรักษาความปลอดภัย 

เพราะการที่ติดตามการแจ้งเตือนความปลอดภัยมากกว่า 1,000 รายการทุกวันเพื่อที่หวังว่าจะไม่มีอะไรพลาดนั้น ผู้โจมตีก็ยังคงพบวิธีใช้ประโยชน์จากช่องว่างในการป้องกันได้อยู่เรื่อยๆ
 
แน่นอนว่าอุตสาหกรรมการรักษาความปลอดภัยได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ที่กำลังคุกคามองค์กรจึงได้นำเสนอโซลูชัน XDR การตรวจจับเหตุการณ์ภัยคุกคามและการตอบสนอง (Extended Detection and Response)

โดย XDR ทำให้สามารถมองเห็นภาพรวมทั้งหมดที่มาจากแพลตฟอร์มความปลอดภัยหลายแพลตฟอร์ม เพื่อช่วยวิเคราะห์แหล่งข้อมูลหลายแหล่งในเชิงลึก เพิ่มการตรวจจับที่แม่นยำยิ่งขึ้นและมีสัญญาณรบกวนน้อยลง ส่งผลให้ตอบสนองต่อภัยคุกคามด้านความปลอดภัยได้เร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

กลไกการตรวจจับและป้องกันประกอบด้วย การเรียนรู้ของเครื่องและการวิเคราะห์พฤติกรรม การวิเคราะห์บริบท การค้นหาภัยคุกคาม การบูรณาการ SOAR และฟังก์ชันอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงมีประเด็นเรื่องการมองเห็นที่จำกัดในการรับส่งข้อมูลบนคลาวด์และแอปพลิเคชัน แม้ว่าโซลูชัน XDR ที่ซับซ้อนที่สุดก็ยังพบว่าเป็นเรื่องยากในการมองเห็นและทำความเข้าใจการรับส่งข้อมูลแบบไฮบริดนี้

การสูญเสียการมองเห็นและการควบคุมทั่วทั้งคลาวด์และ on-premises อาจส่งผลให้เกิดช่องโหว่ในระบบรักษาความปลอดภัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
 
นอกจากนี้ยังไม่มีทรัพยากรที่มากเพียงพอในการตรวจสอบการแจ้งเตือน XDR ทั้งหมด กล่าวคือทีมรักษาความปลอดภัยได้รับการแจ้งเตือนนับพันรายการต่อวัน

ลองนึกภาพง่ายๆ ว่าหาก XDR นำเข้าข้อมูลจากหลายแหล่งและถ้าไม่มีระบบอัตโนมัติในการจัดลำดับความสำคัญของข้อมูล ทีมรักษาความปลอดภัยอาจเสียสมาธิและทำให้เกิดช่องโหว่มากขึ้นเพราะไม่มีทรัพยากรเพียงพอที่จะตรวจสอบการแจ้งเตือนทุกครั้งโดยละเอียดได้

แล้ว SASE คืออนาคตของ XDR หรือไม่? SASE เป็นโมเดลที่รวมเทคโนโลยีเครือข่ายและความปลอดภัยเข้าไว้ในแพลตฟอร์มเดียวบนคลาวด์ เพื่อใช้รับส่งข้อมูลทั้งหมดซึ่งง่ายในการตรวจจับและตอบสนองและยังช่วยวิเคราะห์ในเชิงลึกสำหรับการแจ้งเตือนความปลอดภัยที่ถูกตัดการเชื่อมต่อจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งทำให้สามารถระบุภัยคุกคามที่สอดคล้องกันได้มากขึ้น และนี่คือจุดที่คลาวด์ SASE สามารถขยายขีดความสามารถของ XDR ได้

โดยทีมรักษาความปลอดภัยจะได้รับการมองเห็นที่จำเป็นในการรับส่งข้อมูลเครือข่ายและอุปกรณ์ปลายทางทั้งหมด ผ่านเครือข่ายคลาวด์เพียงเครือข่ายเดียวเพื่อตรวจจับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น โดยจะบันทึกเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทั้งหมดใน Data Lake เดียวผ่านการเชื่อมโยงและจัดลำดับความสำคัญของภัยคุกคามได้อย่างง่ายดาย และนำเสนอในแดชบอร์ดการจัดการเดียว

ในทางกลับกัน ทีมรักษาความปลอดภัยสามารถดู ทำความเข้าใจ และดำเนินการกับภัยคุกคามเหล่านี้เพื่อขจัดความเสี่ยงต่อองค์กรได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องมีการปรับมาตรฐานเพื่อให้เข้าใจข้อมูลความปลอดภัยซึ่งนำไปสู่การตรวจจับภัยคุกคามที่แม่นยำยิ่งขึ้นและการแก้ไขที่รวดเร็วยิ่งขึ้น นี่คือวิธีที่ระบบคลาวด์ SASE ทำให้ XDR มีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

สุดท้าย ผู้มีอำนาจขององค์กรควรพิจารณาถึงความของสำคัญของการใช้เครื่องมือต่างๆ อย่างรอบคอบเพื่อให้ระบบขององค์กรปลอดภัยและได้รับประโยชน์สูงสุดครับ

สามารถติดตามบทความจาก CEO ผ่านทางบทความ Think Secure โดย คุณนักรบ เนียมนามธรรม (นักรบ มือปราบไวรัส) เป็นประจำทุกสัปดาห์ ได้ทางหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ หรือช่องทาง Online ที่ https://www.bangkokbiznews.com/category/tech/gadget 

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (ฉบับวันที่ 15 เมษายน 2567)
https://www.bangkokbiznews.com/blogs/tech/gadget/1122328 
บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ