share

Biometric Authentication

Last updated: 5 Jan 2024
1050 Views
Biometric Authentication

Biometric Authentication - ความก้าวหน้าของเทคโนโลยียืนยันตัวตน

การยืนยันตัวตนหรือการพิสูจน์ตัวตนด้วย Biometric นั้น เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเรื่องใกล้ตัวที่สุดที่ต้องทำในทุกๆ วันก็คือ การปลดล็อคหน้าจอโทรศัพท์มือถือด้วยการสแกนลายนิ้วมือ สแกนม่านตา หรือการสแกนใบหน้า ระบบดังกล่าวพัฒนาอย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันการโจรกรรมข้อมูลที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด เมื่อข้อมูลต่างๆ กลายเป็นทรัพย์สินที่สำคัญ ฉะนั้นการป้องกันก็ต้องมีความแข็งแกร่งเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย  

คำว่า Biometric มาจากคำของภาษากรีก “Bio” หมายถึง “ชีวิต” ส่วน “Metric” หมายถึง “การวัด” ดังนั้นความหมายโดยรวมของ Biometric คือ “การวัดและการวิเคราะห์ทางสถิติของลักษณะทางกายภาพและพฤติกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของผู้คน” ซึ่งในทางการรักษาความปลอดภัยนั้น จะเป็นขั้นตอนการพิสูจน์ตัวตนก่อนที่จะให้สิทธ์การเข้าถึงข้อมูล เซิร์ฟเวอร์ หรือคอมพิวเตอร์ เพื่อปกป้องบุคคล องค์กร การทำธุรกิจ และที่สำคัญป้องกันไม่ให้แฮกเกอร์ และผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาสร้างความเสียหายในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รวมถึงการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลด้วย  


ระบบความปลอดภัย Biometric ทำงานอย่างไร?

การรักษาความปลอดภัย Biometric ใช้ลักษณะทางกายภาพหรือพฤติกรรมเฉพาะของแต่ละบุคคลเพื่อยืนยันตัวตน

โดยมีขั้นตอน ดังนี้
การลงทะเบียนข้อมูล - การลงทะเบียนข้อมูล Biometric ของบุคคลในฐานข้อมูลหรือระบบ เป็นขั้นตอนแรกในการรักษาความปลอดภัยด้วย Biometric สิ่งนี้นำมาซึ่งการจัดเก็บข้อมูลที่เซ็นเซอร์ เช่น เครื่องสแกนลายนิ้วมือหรือกล้องจดจำใบหน้า ซึ่งทำการบันทึกไว้อย่างปลอดภัย

การแยกคุณลักษณะ หลังจากได้รับข้อมูล Biometric แล้ว จะมีการประมวลผลและค้นหาสิ่งที่ไม่เหมือนใคร เช่น ลักษณะบนลายนิ้วมือ หรือระยะห่างของจุดต่างๆ บนใบหน้า

การสร้าง Template Template เป็นตัวแทนทางคณิตศาสตร์ของข้อมูล Biometric ของแต่ละบุคคล จะถูกสร้างขึ้นโดยใช้คุณสมบัติที่แยกออกมา หลังจากนั้นข้อมูลต้นแบบจะถูกบันทึกในระบบหรือฐานข้อมูล และนำไปเปรียบเทียบในระหว่างการตรวจสอบความถูกต้อง

การรับรองความถูกต้อง  

  • บุคคลจะได้รับแจ้งในการให้ข้อมูล Biometric เมื่อเข้าถึงระบบหรือการทำธุรกรรม
  • ในการยืนยันตัวตน ระบบจะนำข้อมูล Biometric ไปเปรียบเทียบกับ Template ที่เก็บไว้แล้ว
  • หากข้อมูลนั้นตรงกับรูปแบบภายในขีดจำกัดความคล้ายคลึงกัน การโต้ตอบการตรวจสอบจะมีผล และบุคคลนั้นจะได้รับอนุญาตหรือการอนุมัติให้เข้าถึงอุปกรณ์หรือระบบต่างๆ ได้  

Biometric มีข้อดีหลายประการเหนือว่าเทคนิคการรักษาความปลอดภัยทั่วไป เช่น รหัสผ่านและ PIN เนื่องจากข้อมูลจะไม่ซ้ำกันสำหรับแต่ละคน ซึ่งไม่สามารถทำซ้ำหรือปลอมแปลงได้ง่ายๆ แต่ก็ไม่น่าเชื่อถือร้อยเปอร์เซ็นต์ และมีความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของ Biometric ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบและป้องกันอย่างระมัดระวัง

Biometric ที่ใช้มีอะไรกันบ้าง?
Biometric นั้นมีหลายประเภทด้วยกัน แตกต่างกันไปตามรูปแบบที่ใช้พิสูจน์ตัวตนและการรับรองความถูกต้อง โดยมีตัวอย่างการใช้งาน ดังนี้

การจดจำลายนิ้วมือ: สามารถพบได้ในสมาร์ทโฟน แล็ปท็อป และระบบควบคุมการเข้าถึงทางกายภาพ (Physical Access Control Systems) ทำให้เป็นหนึ่งในตัวระบุ Biometric ที่ใช้กันมานานและแพร่หลายมากที่สุด

การจดจำใบหน้า: ระบุลักษณะเฉพาะของใบหน้าบุคคล เช่น ระยะห่างจากตาถึงจมูกหรือปาก มีการใช้บ่อยในการควบคุมการเข้าถึง การเฝ้าระวัง และการบังคับใช้กฎหมาย

การจดจำม่านตา: รูปแบบเฉพาะของม่านตาของแต่ละคน ซึ่งเป็นวงแหวนสีรอบๆ รูม่านตาจะถูกบันทึกและวิเคราะห์สำหรับตัวระบุ Biometric นี้ มักใช้ในแอปพลิเคชันที่มีความปลอดภัยสูง เช่น การควบคุมเขตชายแดนและการรักษาความปลอดภัยสนามบิน เพราะถือว่าเป็นหนึ่งในตัวระบุ Biometric ที่แม่นยำที่สุด

การรู้จำเสียง: คุณลักษณะที่โดดเด่นของเสียบุคคล รวมถึงน้ำเสียง ระดับเสียง และความถี่ จะถูกบันทึกและวิเคราะห์เพื่อสร้างตัวระบุ Biometric ซึ่งมักจะใช้ในอุปกรณ์สั่งงานด้วยเสียงและ Telephone Banking

การจดจำหลอดเลือดดำ: การจดจำเส้นเลือดเป็นระบบ Biometric ที่ใช้รูปแบบของเส้นเลือดที่มือของบุคคลเพื่อระบุตัวตน ระบบนี้มักถูกใช้ในสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากยากต่อการปลอมแปลงรูปแบบหลอดเลือดดำ ซึ่งการสแกนหลอดเลือดดำถือเป็นหนึ่งในวิธีการยืนยันตัวตนที่มีความปลอดภัยและแม่นยำที่สุดเมื่อเทียบกับลายนิ้วมือและการจดจำใบหน้า โดยวิธีนี้มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูงเพื่อแลกกับความปลอดภัยเป็นพิเศษ

การจดจำใบหู: รูปร่างและส่วนประกอบต่างๆ ของหูมนุษย์ เผยให้เห็นคุณลักษณะที่ชัดเจนซึ่งพิจารณาถึงข้อพิสูจน์ความแตกต่างของบุคคล ในประเทศต่างๆ เช่น ฝรั่งเศส ซึ่งมีการใช้การระบุใบหูมาเป็นเวลานาน เช่น รายละเอียดเกี่ยวกับหูของผู้ถูกจับกุมจะถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของประวัติอาชญากรรม พร้อมด้วยใบหน้าและลายนิ้วมือ นอกจากนี้การจดจำใบหูยังได้พัฒนาเป็นเทคโนโลยี Biometric อัตโนมัติที่ใช้งานได้ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ด้วยการพัฒนาอัลกอริธึมการคำนวณที่ล้ำสมัย เช่น โครงข่ายประสาทเทียมแบบ Convolutional

การรับรู้การเดิน: Stride Acknowledgment เป็นกรอบการทำงานแบบ Biometric ที่ใช้สถานะของร่างกายและลักษณะการเคลื่อนไหวขณะเดินเพื่อแยกความแตกต่างระหว่างร่างกาย วิธีเหล่านี้เหมาะสำหรับการสังเกตการณ์กลุ่มใหญ่ แต่ไม่ใช่เพื่อจุดประสงค์ในการยืนยันตัวตน การจดจำการเดินจึงมีอัตราความผิดพลาดสูงกว่าวิธีการระบุตัวตนด้วยวิธีอื่นๆ เนื่องจากผู้คนสามารถปลอมตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับได้

การวิเคราะห์ DNA: โดย DNA  ของแต่ละบุคคลสามารถใช้ในการวิเคราะห์เพื่อระบุตัวตนได้ แต่วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลานาน จึงไม่ค่อยได้ใช้สำหรับการระบุตัวตนและการรับรองความถูกต้องในชีวิตประจำวัน

เพิ่มความปลอดภัยเมื่อใช้ Biometric
โซลูชันความปลอดภัย Biometric กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น มีบทบาทที่สำคัญในด้านการธนาคาร การค้าปลีก บนอุปกรณ์พกพา รวมถึงการใช้งานในองค์กร สถานที่ และสาขาอาชีพต่างๆ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตประจำวันให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น

การรักษาความปลอดภัยภายในบ้าน
ระบบรักษาความปลอดภัย Biometric ใช้ตรวจสอบบุคคลที่ต้องการเข้าบ้าน พร้อมทั้งยังอนุญาตให้เข้าถึงห้องใดห้องหนึ่ง บ้านทั้งหลัง และอาคารสำนักงาน ดังนั้นจึงไม่ต้องใช้กุญแจอีกต่อไป เพราะสามารถเข้าถึงอาคารได้ด้วยการใช้ลายนิ้วมือ

การรักษาความปลอดภัยสนามบิน
Biometrics มักใช้เพื่อความปลอดภัยของสนามบิน โดยสนามบินหลายแห่งใช้การจดจำม่านตาเพื่อยืนยันตัวตนของบุคคล

ความปลอดภัยทางการเงิน
ใช้วิธีการชำระเงินด้วย Biometrics ผ่านทางแอปพลิเคชัน เทคโนโลยีนี้ใช้เพื่ออนุญาตการทำธุรกรรมโดยการสแกนลายนิ้วมือซึ่งถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

การดูแลสุขภาพ
การรักษาความปลอดภัยแบบ Biometrics ยังใช้สำหรับโปรแกรมประกันและบัตรประจำตัวในการดูแลสุขภาพ โดยใช้ลายนิ้วมือสำหรับการระบุตัวตนในด้านการดูแลสุขภาพ

ความปลอดภัยของอุปกรณ์เคลื่อนที่
การรับรองความถูกต้องด้วย Biometrics ได้รวมเข้ากับสมาร์ทโฟน Android และ iOS ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โทรศัพท์หลายรุ่นมาพร้อมกับการปลดล็อคด้วยลายนิ้วมือ แต่ทุกวันนี้ไม่ได้มีแค่ลายนิ้วมือเท่านั้น ตัวอย่างเช่น Intelligent Scan เป็นฟังก์ชันความปลอดภัยไบ Biometrics ที่พัฒนาโดยซัมซุง ให้การพิสูจน์ตัวตนแบบหลายปัจจัยโดยการรวมการจดจำใบหน้าเข้ากับการสแกนม่านตา เช่นเดียวกับ Face ID ของ Apple ซึ่งจะฉายจุดอินฟราเรดกว่า 30,000 จุดลงบนใบหน้าของผู้ใช้ เพื่อวิเคราะห์รูปแบบและสร้างแผนผังใบหน้า สำหรับใช้ในการตรวจสอบสิทธิ์ครั้งต่อไปเมื่อผู้ใช้ต้องการเข้าสู่ระบบ

การบังคับใช้กฎหมาย
ใช้สำหรับการตรวจสอบลายนิ้วมือ และการทำประวัติของอาชญากร 

การธนาคาร
ในภาคการธนาคารลูกค้าจำนวนมากเริ่มเบื่อที่จะต้องพิสูจน์ตัวตนของตนเป็นประจำ แต่หากไม่มีสิ่งนี้ความเสี่ยงของการถูกขโมยข้อมูลประจำตัวก็จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นระบบความปลอดภัย Biometrics ของธนาคารจึงเป็นที่ต้องการอย่างสูง ซึ่งธนาคารหลายแห่งใช้ Biometrics ในการสแกนลายนิ้วมือ การจดจำใบหน้า และการยืนยันตัวตนด้วยเสียงบนแอปพลิเคชั่นมือถือ ขณะเดียวกันธนาคารบางแห่งยังใช้การรับรองความถูกต้องแบบหลายปัจจัยเข้ากับ Biometrics

ข้อดีของระบบความปลอดภัย Biometrics
Biometrics มีประโยชน์มากมายเกี่ยวกับความปลอดภัย การใช้งาน และกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยมีข้อดี ดังนี้

ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่: คีย์การ์ดและพวงกุญแจสามารถสูญหายและถูกขโมยได้ อีกทั้งยังมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนใหม่ แต่ถ้าใช้ Biometrics ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปทันที

พนักงานรักษาความปลอดภัยน้อยลง: เนื่องจากระบบรักษาความปลอดภัย Biometrics ส่วนใหญ่เป็นแบบอัตโนมัติ จึงมีความต้องการใช้พนักงานรักษาความปลอดภัยน้อยลง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องจ้างเจ้าหน้าที่หลายๆ คน ทำให้บริษัทสามารถประหยัดเงินได้มาก

ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น: ผู้ใช้สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ในเวลาน้อยกว่าหนึ่งวินาทีโดยใช้ Biometrics เนื่องจากไม่จำเป็นต้องตรวจสอบข้อมูลประจำตัวด้วยตนเอง เช่น รหัสผ่านและ PIN บริษัทต่างๆ จึงประหยัดเวลาได้มาก

ทำสำเนาได้ยาก: เพื่อป้องกันการปลอมแปลง ระบบความปลอดภัย Biometrics สมัยใหม่จึงมีการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลอยู่เสมอ

ข้อควรระวังของระบบความปลอดภัย Biometrics
หากข้อมูล Biometrics ของคุณถูกบุกรุกจะไม่สามารถรีเซ็ตได้: ไม่สามารถเปลี่ยนลายนิ้วมือเหมือนกับการเปลี่ยนรหัส PIN หากถูกขโมย

อุปกรณ์ Biometrics มีราคาแพง: การติดตั้งและใช้งานระบบยังคงมีราคาแพงกว่าอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยแบบดั้งเดิม

ปัญหาในการสแกน: หากผู้ใช้สวมแว่นสายตาในระหว่างการสแกนม่านตา อาจทำให้เกิดปัญหาและทำให้ขั้นตอนการยืนยันตัวตนช้าลง เช่นเดียวกับการสแกนลายนิ้วมือ หากนิ้วของเรามีความชื้นก็จะสแกนได้ยากขึ้น

ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ: ระบบรักษาความปลอดภัยแบบ Biometrics ไม่ได้ต้องการเพียงเซ็นเซอร์ คอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมเท่านั้น แต่ยังต้องใช้ความเชี่ยวชาญในการเขียนโปรแกรมของโปรแกรมเมอร์เพื่อรันระบบด้วย

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม: อาจมีอัตราความผิดพลาดสูงขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เย็นจัด ซึ่งอาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นอันตรายได้

ด้วยความยอดเยี่ยมของเทคโนโลยี Biometrics ทำให้ทุกวันนี้ การโจรกรรมและการละเมิดข้อมูลนั้นทำได้ยากกว่าเดิม แต่ถึงกระนั้นผู้ใช้งานและองค์กรต่างๆ ก็ต้องปรับปรุงและพัฒนาให้ระบบการระบุตัวตนที่ว่านี้มีความแข็งแกร่งอยู่เสมอ ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันการปลอมแปลง และการยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัย ซึ่งจะช่วยให้องค์กรปกป้องข้อมูล Biometrics ได้ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกันการใช้เทคโนโลยี Biometrics ก็ต้องคำนึงถึงข้อควรระวังที่จะตามมาด้วย เพื่อให้เกิดสมดุลระหว่างประโยชน์และผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้น

ข้อมูลจาก
https://cybersecuritynews.com/biometric-authentication/ 
https://www.privacyaffairs.com/biometrics-in-cybersecurity/ 

Related Content
This website uses cookies to enhance your experience and providing the best service from us. Please confirm the acceptance. You can learn more about our use of cookies from our Policy. Privacy Policy and Cookies Policy
Compare product
0/4
Remove all
Compare