share

พบ โทรจัน ขโมยข้อมูลไบโอเมตริก เพื่อเข้าถึงบัญชีธนาคารเหยื่อ (จบ)

Last updated: 4 Apr 2024
461 Views
พบ โทรจัน ขโมยข้อมูลไบโอเมตริก เพื่อเข้าถึงบัญชีธนาคารเหยื่อ (จบ)
พบ โทรจัน ขโมยข้อมูลไบโอเมตริก เพื่อเข้าถึงบัญชีธนาคารเหยื่อ (จบ)
 
จากสัปดาห์ที่แล้วที่ผมได้อธิบายถึงหลักการสำหรับการโจมตีทางไซเบอร์และเทคนิคการทำงานของแก๊ง GoldFactory กันในรูปแบบต่างๆ ในวันนี้เราจะมาเจาะลึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยกันนะครับ

ตามรายงานของศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศภาคการธนาคาร (Thailand Banking Sector CERT หรือ TB-CERT) พบว่า อาชญากรไซเบอร์มีข้อมูลส่วนบุคคลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับเหยื่อจึงไม่น่าแปลกใจที่เหยื่อจะหลงเชื่อ

โดยมีการแอบอ้างเป็นหน่วยงานของรัฐและโน้มน้าวให้เหยื่อใช้ LINE ซึ่งเป็นหนึ่งในแอปพลิเคชันส่งข้อความที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทยสำหรับการติดต่อและส่งลิงค์ปลอม 

เมื่อเหยื่อโหลดแอพพลิเคชัน Digital Pension ของกรมบัญชีกลางเพื่อรับเงินบำนาญแบบดิจิทัล ก็จะมีการแสดงข้อความปลอมที่เสนอการขอคืนภาษีสำหรับค่าไฟฟ้าอีกด้วย

ผู้เชี่ยวชาญได้ค้นพบ GoldPickaxe หลายเวอร์ชัน ซึ่งทั้งหมดมีฟังก์ชันการทำงานที่เหมือนกัน แต่ปลอมตัวเป็นหน่วยงานราชการของไทยที่แตกต่างกัน ทำให้เราได้เห็นแนวโน้มแคมเปญหลอกลวงของ GoldFactory เกี่ยวข้องกับการเลียนแบบแอปพลิเคชันของรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น เงินบำนาญดิจิทัลสำหรับประเทศไทย บริการอื่นๆ ของรัฐบาลไทย
 
ขณะนี้ โทรจันแบบต่างๆ ของ GoldFactory กำลังแพร่กระจายผ่านเว็บไซต์ปลอมที่เป็นหน้า Google Play Store เพื่อติดตั้งมัลแวร์บนอุปกรณ์ของเหยื่อ

สำหรับ GoldPickaxe.iOS มีรูปแบบที่แตกต่างกันเพราะ Apple มีระบบที่ออกแบบมาเป็นอย่างดีเพื่อป้องกันไม่ให้แฮกเกอร์แพร่กระจายมัลแวร์ผ่านร้านค้า

อย่างไรก็ตาม อาชญากรไซเบอร์ได้ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์ม TestFlight ของ Apple เพื่อเผยแพร่แอพพลิเคชันสกุลเงินดิจิทัลปลอม และหลอกลวงให้ติดตั้งโปรไฟล์ MDM โดยให้ทำตาม URL ที่จะเปลี่ยนเส้นทางของเหยื่อไปยังเว็บไซต์หลอกลวงเหล่านี้

จากนั้นแฮกเกอร์จะควบคุมและจัดการอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น การล้างข้อมูลระยะไกล การติดตามอุปกรณ์ และการจัดการแอพพลิเคชัน ซึ่งอาชญากรไซเบอร์ใช้ประโยชน์จากการติดตั้งแอปพลิเคชันที่เป็นอันตรายและรับข้อมูลที่ต้องการซึ่งเหยื่อจะไม่มีทางรู้ตัวเลย

การจดจำใบหน้าถูกนำมาใช้อย่างจริงจังโดยเฉพาะองค์กรที่เกี่ยวข้องทางการเงินของไทยในการตรวจสอบธุรกรรมและการตรวจสอบการเข้าสู่ระบบ โดยในเดือน พ.ย. 2023 ตำรวจไซเบอร์ของไทย เปิดเผยว่า คนไทยตกเป็นเป้าหมายของการหลอกลวงโดยอาชญากรไซเบอร์สวมรอยเป็นเจ้าหน้าที่จากกระทรวงการคลัง
 
โดยอ้างการได้รับสิทธิ์ประโยชน์ทางการเงินต่างๆ จากนั้นหลอกให้เหยื่อคลิกลิงก์ไปยังเว็บไซต์ของอาชญากรเพื่อดาวน์โหลดการตั้งค่าโปรไฟล์ MDMและให้เหยื่อบันทึกวิดีโอเป็นวิธีการยืนยันในแอปพลิเคชันปลอม

จากนั้นวิดีโอที่บันทึกไว้จะถูกนำมาใช้สร้างวิดีโอ Deepfake AI เพื่อสลับใบหน้า โดยโทรจัน GoldPickaxe ทั้งในแพลตฟอร์ม iOS และ Android และมีความสามารถเพิ่มเติม

เช่น การขอเอกสารประจำตัวของเหยื่อ การสกัดกั้น SMS และการรับส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์ที่ติดไวรัสและจะไม่ทำธุรกรรมโดยตรงจากโทรศัพท์ของเหยื่อ แต่จะรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมดจากเหยื่อเพื่อเข้าถึงแอปพลิเคชันธนาคารของเหยื่อโดยอัตโนมัติ โดยสามารถข้ามการรับรองความถูกต้องด้วยสองปัจจัย (2FA) ได้เลย

เราจะเห็นได้ว่า กลยุทธ์ของเหล่าอาชญากรทางไซเบอร์นั้น ได้พัฒนาอย่างก้าวกระโดดเพื่อเอาชนะกลยุทธ์การป้องกันต่างๆ ส่งผลให้ภาพรวมของมัลแวร์บนมือถือได้กลายเป็นตลาดที่ทำกำไรได้อย่างรวดเร็ว และเพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามที่ทวีความรุนแรงขึ้นนี้

สถาบันการเงินต้องดำเนินมาตรการป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบเชิงรุกรวมถึงการให้ความรู้แก่ผู้ใช้งานให้รู้จักวิธีการแยกเว็บไซต์จริงหรือปลอมและแอปที่เป็นอันตรายต่างๆ และการปกป้องรหัสผ่านและข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานให้ปลอดภัยครับ

สามารถติดตามบทความจาก CEO ผ่านทางบทความ Think Secure โดย คุณนักรบ เนียมนามธรรม (นักรบ มือปราบไวรัส) เป็นประจำทุกสัปดาห์ ได้ทางหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ หรือช่องทาง Online ที่ https://www.bangkokbiznews.com/category/tech/gadget  

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (ฉบับวันที่ 11 มีนาคม 2567)
https://www.bangkokbiznews.com/tech/gadget/1117198  
Related Content
This website uses cookies to enhance your experience and providing the best service from us. Please confirm the acceptance. You can learn more about our use of cookies from our Policy. Privacy Policy and Cookies Policy
Compare product
0/4
Remove all
Compare