Share

ฐานข้อมูล ‘DeepSeek’ รั่วไหล

Last updated: 21 May 2025
32 Views

เมื่อไม่นานมานี้ ทุกท่านคงได้ข่าวการเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ของ DeepSeek แชทบอท AI ตัวใหม่ของจีน ที่เคลมว่า มีความสามารถใกล้เคียงกับ Chat GPT แต่มีต้นทุนที่ถูกกว่าหลายเท่าเลยทีเดียว

แต่ DeepSeek กลับต้องเผชิญกลับปัญหาใหญ่ที่ท้าทายอย่างมาก เมื่อผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จากต่างประเทศได้ตรวจพบช่องโหว่ด้านความปลอดภัยบนโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูล AI ของ DeepSeek

ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดการรั่วไหลข้อมูลอินพุตที่มีความละเอียดอ่อนจำนวนมาก อย่างเช่น ประวัติการแชท คีย์ API และรายละเอียดของแบ็กเอนด์

หากลงในรายละเอียดจะพบว่า ฐานข้อมูล DeepSeek ที่ถูกเปิดเผยคือการตั้งค่า ClickHouse โดย ClickHouse เป็นระบบจัดการฐานข้อมูลแบบคอลัมน์ที่ออกแบบมาสำหรับใช้ประมวลผลในการการวิเคราะห์ออนไลน์ (OLAP) เมื่อต้องจัดการกับข้อมูลปริมาณมากๆ

นอกจากนี้ มีการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับมาตรการรักษาความปลอดภัยภายนอกของบริษัทสตาร์ทอัพจีน และค้นหาช่องโหว่ที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งมีการระบุว่า ClickHouse ใช้อินเทอร์เฟซ HTTP ทำให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถเข้าถึง /play path ซึ่งอนุญาตให้จัดการคำสั่ง SQL ที่กำหนดเองได้ โดยตรงผ่านเว็บเบราว์เซอร์

เพราะฐานข้อมูล ClickHouse สามารถเปิดให้เข้าถึงได้แบบสาธารณะและไม่ต้องได้รับการรับรองความถูกต้องก่อนเข้าระบบก่อน โดยมีโฮสต์อยู่ที่ oauth2callback.deepseek.com:9000 และ dev.deepseek.com:9000 แต่ตามหลักความเป็นจริงนั้น ฐานข้อมูล ClickHouse ควรเข้าถึงได้เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องภายในบริษัทที่ใช้งานเท่านั้น

จากช่องโหว่ของข้อมูลเหล่านี้เอง อาจส่งผลให้แฮกเกอร์สามารถเข้าถึงระบบเพื่อควบคุมฐานข้อมูลได้อย่างสมบูรณ์ และอาจมีการเพิ่มสิทธิ์ภายในสภาพแวดล้อมของ DeepSeek หรือจัดการระบบ 

ไม่ว่าจะเป็น การดึงบันทึกที่ละเอียดอ่อนและข้อความแชทต่างๆ และยังสามารถขโมยรหัสผ่านและไฟล์ในเครื่องพร้อมข้อมูลได้โดยตรงจากเซิร์ฟเวอร์โดยใช้คำสั่งเช่น: SELECT * FROM file(filename) ขึ้นอยู่กับการกำหนดค่าของ ClickHouse โดยไม่ต้องมีกลไกการตรวจสอบสิทธิ์หรือการป้องกันใดๆ เพื่อป้องกันการเข้าถึงจากภายนอก

อย่างไรก็ตาม ทีมผู้เชี่ยวชาญก็ได้หยุดดำเนินการค้นหาที่จะเป็นการล่วงล้ำระบบ และได้สรุปรายงานข้อกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ LLM ของ DeepSeek

โดยเน้นว่า แม้ว่าความปลอดภัยของ AI จะมุ่งเน้นไปที่ภัยคุกคามในอนาคต แต่ก็ไม่ควรมองข้ามอันตรายในปัจจุบัน เพราะสิ่งเหล่านี้มักเกิดจากความเสี่ยงพื้นฐาน เช่น การเปิดเผยฐานข้อมูลภายนอกโดยไม่ได้ตั้งใจ

เราจะเห็นได้ว่า ทุกๆ ช่องโหว่ที่เกิดขึ้นหากเรามองข้ามไป สิ่งเหล่านี้อาจนำมาสู่ความเสี่ยงจากภัยคุกคามต่างๆ และแน่นอนว่าเราจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ครับ

สามารถติดตามบทความจาก CEO ผ่านทางบทความ Think Secure โดย คุณนักรบ เนียมนามธรรม (นักรบ มือปราบไวรัส) เป็นประจำทุกสัปดาห์ ได้ทางหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ หรือช่องทาง Online ที่ https://www.bangkokbiznews.com/category/tech/gadget        

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (ฉบับวันที่ 24 มีนาคม 2568)
https://www.bangkokbiznews.com/blogs/tech/gadget/1172497 


Related Content
This website uses cookies to enhance your experience and providing the best service from us. Please confirm the acceptance. You can learn more about our use of cookies from our Policy. Privacy Policy and Cookies Policy
Compare product
0/4
Remove all
Compare